ผู้ใช้ใหม่ๆอาจงงกับรูปแบบการทำงานแบบแยกศูนย์ (decentralized) ของ Mercurial หน้านี้จึงพยายามที่จะอธิบายหลักการพื้นฐานต่างๆเพื่อให้ผู้ใช้เข้าใจ Mercurial ได้ดีขึ้น ดู[[ThaiTutorial|บทเรียนการใช้งาน Mercurial]]สำหรับขั้นตอนอย่างการใช้งานอย่างละเอียด ''(คำแปล: [[BrazilianPortugueseUnderstandingMercurial|ภาษาโปรตุเกสบราซิล]], [[ChineseUnderstandingMercurial|ภาษาจีน]], [[FrenchUnderstandingMercurial|ภาษาฝรั่งเศษ]], [[GermanUnderstandingMercurial|ภาษาเยอรมัน]], [[ItalianUnderstandingMercurial|ภาษาอิตาลี]], [[JapaneseUnderstandingMercurial|ภาษาญี่ปุ่น]], [[KoreanUnderstandingMercurial|ภาษาเกาหลี]], [[RussianUnderstandingMercurial|ภาษารัสเซีย]], [[SpanishUnderstandingMercurial|ภาษาสเปน]] )'' <> == มีอะไรอยู่ใน Repository บ้าง == [[ThaiRepository|repository]] ของ Mercurial ประกอบไปด้วยสองส่วนคือ[[ThaiWorkingDirectory|ไดเร็คทอรี่สำหรับใช้ทำงาน]] (working directory) และที่จัดเก็บประวัติ (store): {{{#!dot digraph G { rankdir = LR; compound=true; background="#999999"; subgraph cluster_0 { label="working directory"; style=filled; color=lightgrey; node [style=filled,color=white]; edge [style=invis]; "main.c" -> "main.h" -> ".hgignore" -> ".hgtags"; } subgraph cluster_1 { label = "store"; labelloc = b; style=filled; color="#eeeeee"; node [shape=box, style=filled, color=lightgray]; "rev 0" -> "rev 1" -> "rev 2" -> "rev 3" [dir=back, label="parent"]; } "main.c" -> "rev 2" [ltail=cluster_0, label="parent", labeldistance=5, minlen=2]; } }}} ที่จัดเก็บประวัติจะทำหน้าที่เก็บประวัติการแก้ไข'''ทั้งหมด'''ของโปรเจค รูปแบบ repository แบบนี้เป็นจุดที่ทำให้ Mercurial ต่างจาก SCM ทั่วไป เพราะปกติ SCM จะเก็บประวัติการแก้ไขทั้งหมดไว้ในศูนย์กลางเพียงที่เดียว แต่ใน Mercurial ทุกๆ repository จะมีประวัติเหล่านี้ติดมาด้วยเหมือนเป็นสำเนาส่วนตัว การทำแบบนี้จะทำให้ผู้ใช้แต่ละคนสามารถทำงานขนานกันไปได้ง่ายดายกว่า ในไดเร็คทอรี่สำหรับใช้ทำงานจะมีสำเนาของไฟล์ต่างๆ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง (เช่นเวอร์ชั่นจากการแก้ไขครั้งที่สองหรือ rev 2 เป็นต้น) คุณสามารถแก้ไขไฟล์ในไดเร็คทอรี่สำหรับใช้ทำงานได้ตามปกติ และเนื่องจากว่า[[Tag|ป้ายกำกับ (tags)]]และ[[.hgignore|ไฟล์ที่ไม่ถูกเก็บประวัติ (ignored files)]]ก็เป็นส่วนหนึ่งของ repository ด้วยข้อมูลทั้งสองจึงถูกเก็บอยู่ใน repository เช่นกัน == การคอมมิท(บันทึก) การแก้ไข == เมื่อคุณ[[Commit|คอมมิท]]การแก้ไข ไฟล์ต่างๆที่อยู่ในไดเร็คทอรี่สำหรับใช้ทำงานของคุณจะถูกเก็บเป็น[[ChangeSet|เซ็ตของการแก้ไข (changeset)]] เซ็ตใหม่ (หรือจะเรียกสั้นๆว่า"[[Revision|การแก้ไข (revision)]]"ใหม่ก็ได้) โดย[[Parent|บรรพบุรุษ (parent)]]ของเซ็ตของการแก้ไขตัวใหม่นี้ก็คือบรรพบุรุษของไดเร็คทอรี่สำหรับใช้ทำงานในขณะนั้น: {{{#!dot digraph G { compound=true; rankdir = LR background="#999999"; subgraph cluster_0 { label="working directory"; style=filled; color=lightgrey; node [style=filled,color=white]; edge [style=invis]; "main.c"-> "main.h" -> ".hgignore" -> ".hgtags" } subgraph cluster_1 { label = "store"; labelloc = b; style=filled; color="#eeeeee"; node [shape=box,style=filled,color=lightgray]; "rev 0" -> "rev 1" -> "rev 2" -> "rev 3" [dir=back]; "rev 2" -> "rev 4" [dir=back]; } "rev 2" -> ".hgtags" [dir=back, style=dotted, lhead=cluster_0, label="parent before commit"] "rev 4" -> ".hgtags" [dir=back, color=red, lhead=cluster_0, headlabel="commit", labelfontcolor=red ] } }}} ในรูปภาพคุณจะเห็นว่าการแก้ไขครั้งที่ 4 เป็น '''[[Branch|กิ่ง]]''' ของการแก้ไขครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นเดิมของไดเร็คทอรี่สำหรับใช้ทำงาน หลังจากการคอมมิท การแก้ไขครั้งที่ 4 จะกลายเป็น'''บรรพบุรุษ'''ใหม่ของไดเร็คทอรี่ทำงานแทน == การแก้ไข (revision), เซ็ตของการแก้ไข (changeset), ส่วนยอด (head), และส่วนปลาย (tip) == Mercurial จะรวบรวมไฟล์ที่ถูกแก้ไขทั้งหมดไว้ด้วยกันเป็นกลุ่มเดียวสำหรับคอมมิท เราจะเรียกกลุ่มๆนี้ว่า[[ChangeSet|เซ็ตของการแก้ไข]] หรือสั้นๆว่าการแก้ไข (revision) การแก้ไขแต่ละครั้งจะมีตัวเลขกำกับเพื่อง่ายต่อการระบุ ตัวเลขนี้เรียกว่า[[RevisionNumber|ครั้งที่แก้ไข]]ซึ่งจะเพิ่มขึ้นตามลำดับ เนื่องจากว่า Mercurial อนุญาติให้ผู้ใช้หลายคนทำงานขนานกันในหลายๆ repository ตัวเลขครั้งที่แก้ไขของผู้ใช้แต่ละคนอาจไม่ตรงกันได้ เพราะฉะนั้น Mercurial จึงมีตัวเลขกำกับอีกเลขนึงเพื่อระบุการแก้ไขเดียวกันในทุกๆ repository เป็นตัวเลขฐานสิบหก ยาว 40 หลัก ที่มีชื่อว่า [[ChangeSetID|รหัสประจำเซ็ตการแก้ไข]] (changeset ID) คุณสามารถใช้รหัสแบบย่อได้ถ้าเป็นรหัสที่สามารถระบุเซ็ตการแก้ไขเจาะจงได้โดยไม่กำกวม เช่น "e38487" {{{#!dot digraph { rankdir = LR node [shape=record] rev0 [label="{{ p1 | p2} | rev 0:838e}"]; rev1 [label="{{ p1 | p2} | rev 1:34ef}"]; rev2 [label="{{ p1 | p2} | rev 2:4563}"]; rev3 [label="{{ p1 | p2} | rev 3:fe56}"]; rev4 [label="{{ p1 | p2} | rev 4:ac98}"]; rev5 [label="{{ p1 | p2} | rev 5:0345}"]; rev6 [label="{{ p1 | p2} | rev 6:19e3 (tip)}"]; workingdir [label="{{ p1 | p2} | working directory}"]; rev0 -> rev1:p1 [dir=back] rev1 -> rev2:p1 [dir=back] rev1 -> rev3:p1 [dir=back] rev2 -> rev4:p1 [dir=back] rev3 -> rev4:p2 [dir=back] rev4 -> rev5:p1 [dir=back] rev4 -> rev6:p1 [dir=back] rev6 -> workingdir:p1 [dir=back] label="example repository" } }}} การแตกกิ่งและ[[Merge|การรวมประวัติ]]อาจเกิดขึ้นตรงจุดใดก็ได้ใน repository แต่ละกิ่งที่ยังไม่ได้ถูกรวมกับกิ่งอื่นมีชื่อเรียกว่า[[Head|ส่วนยอด]]ของ repository ในรูปภาพด้านบนการแก้ไขครั้งที่ 5 และ 6 คือส่วนยอด แต่การแก้ไขครั้งที่ 6 มีความหมายพิเศษกว่าคือเป็น[[Tip|ส่วนปลาย]]ของ repository ด้วย ส่วนปลายของ repository คือส่วนยอดที่เป็นการแก้ไขครั้งล่าสุด (ตัวเลขครั้งที่แก้ไขสูงที่สุด) การแก้ไขครั้งที่ 4 มีชื่อเรียกว่า[[MergeChangeset|เซ็ตการแก้ไขรวม]] เพราะว่าเป็นเซ็ตการแก้ไขที่เกิดจากการรวมของกันของบรรพบุรุษอีก''สอง''เซ็ต (คือการแก้ไขครั้งที่ 2 และ 3) == การทำสำเนา (clone), แก้ไข, รวมประวัติการแก้ไข (merge), การดึงประวัติการแก้ไข (pull) และการอัพเดทไดเร็คทอรี่สำหรับใช้ทำงาน (update) == สมมุติว่าอลิซมี repository ดังนี้: {{{#!dot digraph { label="Alice's repo" rankdir = LR node [shape=box] a -> b -> c -> d -> "working dir" [dir=back] } }}} บ๊อบ[[Clone|ทำสำเนา]] (clone) repository จากอลิซเป็น repository ส่วนตัวของตัวเองและในไดเร็คทอรี่สำหรับใช้ทำงานของเขามีไฟล์เวอร์ชั่น d ซึ่งก็คือส่วนปลายของ repository: {{{#!dot digraph { label="Bob's repo" rankdir = LR node [shape=box] a -> b -> c -> d -> "working dir" [dir=back] } }}} หลังจากทำสำเนาบ๊อบสามารถทำงานโดยอิสระจากอลิซ บ๊อบแก้ไขไฟล์และ[[Commit|คอมมิท]]สองครั้งทำให้เกิดเวอร์ชั่น e และ f: {{{#!dot digraph { label="Bob's repo" rankdir = LR node [shape=box] a -> b -> c -> d -> e -> f -> "working dir" [dir=back] e [color=blue] f [color=blue] } }}} ในขณะเดียวกันอลิซก็ทำการแก้ไขและคอมมิทเวอร์ชั่น g เช่นกัน ทำให้ประวัติการแก้ไขใน repository ของอลิซแตกแขนงออกไปจากประวัติการแก้ไขใน repository ของบ๊อบ จึงเกิด[[Branch|การแตกกิ่ง]]ขึ้น: {{{#!dot digraph { label="Alice's repo" rankdir = LR node [shape=box] a -> b -> c -> d -> g -> "working dir" [dir=back] g [color=red] } }}} บ๊อบจึง[[Pull|ดึงประวัติการแก้ไข]]จาก repository ของอลิซเพื่อทำให้ประวัติการแก้ไขสอดคล้องกัน การดึงประวัติการแก้ไขจะคัดลอกการแก้ไขทั้งหมดที่ที่อลิซคอมมิทมาไว้ใน repository ของบ๊อบ (ในตัวอย่างนี้คือแค่การแก้ไขเวอร์ชั่น g) สังเกตุว่าการดึงประวัติจะ'''ไม่'''แก้ไขไฟล์ใดๆในไดเร็คทอรี่สำหรับใช้ทำงานของบ๊อบเลยแม้แต่น้อย: {{{#!dot digraph { label="Bob's repo" rankdir = LR node [shape=box] a -> b -> c -> d -> e -> f -> "working dir" [dir=back] e [color=blue] f [color=blue] d -> g [dir=back] g [color=red, label="g (tip)"] } }}} การแก้ไขเวอร์ชั่น '''g''' ของอลิซกลายเป็นส่วนยอดใหม่ใน repository ของบ๊อบ และก็เป็น'''ส่วนปลาย'''ของ repository อีกด้วยเนื่องจากเป็นการแก้ไขครั้งล่าสุด (ที่มีเลขครั้งที่แก้ไขมากที่สุดใน repository ของบ๊อบ) จากนั้นบ๊อบจึงทำการ[[Merge|รวมประวัติการแก้ไข]]ของส่วนยอดทั้งสองเข้าด้วยกัน นั่นก็คือการรวมการแก้ไขล่าสุดของเขา (เวอร์ชั่น f) เข้ากับส่วนปลายของ repository (เวอร์ชั่น g) ผลลัพธ์ของการรวมก็คือไดเร็คทอรี่สำหรับใช้ทำงานของบ๊อบจะมีบรรพบุรุษ 2 เวอร์ชั่นคือ f และ g นั่นเอง: {{{#!dot digraph { label="Bob's repo" rankdir = LR node [shape=box] a -> b -> c -> d -> e -> f [dir=back] e [color=blue] f [color=blue] d -> g [dir=back] g [color=red] f -> "working dir" [dir=back, weight=3.0] g -> "working dir" [dir=back, weight=3.0] } }}} หลังจากตรวจสอบดูว่าการรวมประวัติการแก้ไขในไดเร็คทอรี่สำหรับใช้ทำงานของเขาเป็นไปด้วยดี บ๊อบก็คอมมิทและสร้าง[[MergeChangeset|เซ็ตการแก้ไขรวม]]ใหม่ ซึ่งก็คือเวอร์ชั่น h ในที่จัดเก็บประวัติ (store) ของ repository เขา: {{{#!dot digraph { label="Bob's repo" rankdir = LR node [shape=box] a -> b -> c -> d -> e -> f [dir=back] e [color=blue] f [color=blue] d -> g [dir=back] g [color=red] f -> h [dir=back, weight=3.0] g -> h [dir=back, weight=3.0] h -> "working dir" [dir=back] h [color=green, label="h (tip)"] } }}} ตอนนี้ถ้าอลิซ'''ดึงประวัติการแก้ไข'''จากบ๊อบ เธอจะเห็นประวัติการแก้ไขจากบ๊อบคือ e, f, และ h ในที่จัดเก็บประวัติใน repository ของเธอด้วย: {{{#!dot digraph { label="Alice's repo" rankdir = LR node [shape=box] a -> b -> c -> d -> e -> f [dir=back] e [color=blue] f [color=blue] d -> g [dir=back] g [color=red] f -> h [dir=back, weight=3.0] g -> h [dir=back, weight=3.0] g -> "working dir" [dir=back] h [color=green;label="h (tip)"] } }}} สังเกตุว่าไดเร็คทอรี่ทำงานของอลิซก็ไม่ถูกเปลี่ยนแปลงเนื่องจากการดึงประวัติการการแก้ไขเช่นกัน อลิซจะต้อง[[Update|อัพเดทไดเร็คทอรี่สำหรับใช้ทำงาน]]ของเธอให้มีเนื้อหาตรงกับเซ็ตการแก้ไขในเวอร์ชั่น h เอง การอัพเดทนี้จะทำให้บรรพบุรุษของไดเร็คทอรี่สำหรับใช้ทำงานเปลี่ยนเป็นเวอร์ชั่น h และทำให้เนื้อหาของไฟล์ในไดเร็คทอรี่ตรงกับเนื้อหาในเวอร์ชั่น h เช่นกัน {{{#!dot digraph { label="Alice's repo" rankdir = LR node [shape=box] a -> b -> c -> d -> e -> f [dir=back] e [color=blue] f [color=blue] d -> g [dir=back] g [color=red] f -> h [dir=back, weight=3.0] g -> h [dir=back, weight=3.0] h -> "working dir" [dir=back] h [color=green, label="h (tip)"] } }}} ณ จุดนี้ทั้งอลิซและบ๊อบจะมีประวัติการแก้ไขและเนื้อหาในไดเร็คทอรี่สำหรับใช้ทำงานตรงกันอีกครั้ง == ระบบการทำงานแบบแยกศูนย์ == Mercurial เป็นระบบที่ทำงานแบบแยกศูนย์ จึงไม่มีการกำหนดความหมายพิเศษสำหรับ repository กลาง ผู้ใช้มีสิทธิ์เลือกโครงสร้างของ repository ได้ตามต้องการ (ลองดู CommunicatingChanges): {{{#!dot digraph { Alice -> Central Central -> Alice Bob -> Central Alice -> Bob Alice -> Carl Carl -> Central Bob -> Carl Carl -> Bob "Carl's Laptop" -> Carl Carl -> "Carl's Laptop" "Carl's Laptop" -> Central Central [style=fill;color=blue;label="Main Public Repo"] label="A Mercurial Network" } }}} Mercurial ต่างจากระบบเวอร์ชั่นคอนโทรลแบบรวมศูนย์อื่นๆ ในระบบแบบรวมศูนย์การแก้ไขเพื่อทำการทดลองบางอย่างอาจก่อให้เกิดปัญหาได้ถ้าผู้ใช้ไม่ระมัดระวัง แต่ระบบ DVCS อย่าง Mercurial ทำให้การทำการทดลองง่ายและปลอดภัยขึ้นเพราะคุณแค่ต้องทำสำเนาของ repository และก็เริ่มแก้ไขได้เลย repository ต้นฉบับของคุณจะเป็นอิสระจาก repository ทดลองจึงทำให้การทำงานขนานไปได้พร้อมๆกัน ถ้าการทดลองเป็นไปได้ด้วยดี คุณก็แค่ผลักประวัติการแก้ไข (push) กลับไปที่ repository ต้นฉบับ แต่ถ้าคุณไม่ชอบก็แค่ลบ repository ทดลองทิ้งและสร้างสำเนาขึ้นมาทำงานใหม่ == Mercurial ไม่เหมาะกับการใช้งานแบบไหนบ้าง? == ผู้ใช้ SVN/CVS หลายคนคิดว่าจะเก็บหลายๆโปรเจคไว้ใน repository เดียว จริงๆแล้ว Mercurial ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อสนับสนุนการใช้แบบนี้ซักเท่าไรเพราะฉะนั้นคุณอาจจะอยากลองเปลี่ยนวิธีการทำงานของคุณดู เหตุผลก็คือคุณไม่สามารถดึงแค่ไดเร็คทอรี่ใดไดเร็คทอรี่หนึ่งมาจาก repository ของ Mercurial ได้ (การทำสำเนาจะทำสำเนาของทุกๆไดเร็คทอรี่ใน repository) อย่างไรก็ตามถ้าคุณมีความจำเป็นต้องเก็บหลายๆโปรเจคในหนึ่ง repository จริงๆ คุณอาจจะอยากลองดูฟีเจอร์ [[subrepos|Subrepositories]] ที่เพิ่มมาใน Mercurial 1.3 หรือจะลองใช้ตัวเสริมชื่อ ForestExtension ดูก็ได้ คุณสามารถศึกษาวิธีการใช้งาน Mercurial จากตัวอย่างได้จาก[[ThaiTutorial|บทเรียนการใช้งาน Mercurial]]