Differences between revisions 2 and 7 (spanning 5 versions)
Revision 2 as of 2008-11-21 08:39:02
Size: 4701
Comment: Edit contents to make reading easier.
Revision 7 as of 2008-11-25 16:39:58
Size: 4735
Comment: Link to Thai translation of WorkingDirectory page.
Deletions are marked like this. Additions are marked like this.
Line 7: Line 7:
หัวใจของ Mercurial คือ [:Repository:repository] ไอ้เจ้า repository นี้เก็บไฟล์ที่เราต้องการแก้ไข รวมทั้งประวัติของไฟล์เหล่านั้นด้วย หัวใจของ Mercurial คือ [:ThaiRepository:repository] ไอ้เจ้า repository นี้เก็บไฟล์ที่เราต้องการแก้ไข รวมทั้งประวัติของไฟล์เหล่านั้นด้วย
Line 9: Line 9:
วิธีที่ง่ายที่สุดในการเริ่มใช้งาน Mercurial ก็คือลองทำ[:Clone:สำเนา]จาก repository ที่มีอยู่ก่อนแล้วโดยใช้คำสั่ง {{{clone}}} คำสั่งนี้จะสร้างสำเนาของ repository ต้นฉบับเป็น repository ส่วนตัวสำหรับไว้ทำงานบนเครื่องตัวเองได้ วิธีที่ง่ายที่สุดในการเริ่มใช้งาน Mercurial ก็คือลองทำ[:ThaiClone:สำเนา]จาก repository ที่มีอยู่ก่อนแล้วโดยใช้คำสั่ง {{{clone}}} คำสั่งนี้จะสร้างสำเนาของ repository ต้นฉบับเป็น repository ส่วนตัวสำหรับไว้ทำงานบนเครื่องตัวเองได้
Line 45: Line 45:
'''หมายเหตุ:''' ใน Mercurial แต่ละ repository จะอยู่แบบเป็นเอกเทศ เวลาเราทำสำเนา repository สำเนานั้นจะเหมือนกับตัวต้นแบบตอนที่คุณทำสำเนาเป๊ะ แต่ว่าการแก้ไขต่างๆที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นใน repository หนึ่ง''จะไม่อยู่ใน''อีก repository จนกว่าคุณจะบอก Mercurial ว่าคุณต้องการ[:Pull:ดึงประวัติการแก้ไข]จากอีก repository หรือให้ repository อื่น[:Push:ผลักประวัติการแก้ไข]มาที่ repository ของคุณ '''หมายเหตุ:''' ใน Mercurial แต่ละ repository จะอยู่แบบเป็นเอกเทศ เวลาเราทำสำเนา repository สำเนานั้นจะเหมือนกับตัวต้นแบบตอนที่คุณทำสำเนาเป๊ะ แต่ว่าการแก้ไขต่างๆที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นใน repository หนึ่ง''จะไม่อยู่ใน''อีก repository จนกว่าคุณจะบอก Mercurial ว่าคุณต้องการ[:ThaiPull:ดึงประวัติการแก้ไข]จากอีก repository หรือให้ repository อื่น[:ThaiPush:ผลักประวัติการแก้ไข]มาที่ repository ของคุณ
Line 47: Line 47:
โดยปกติคำสั่ง `hg clone` จะ[:Update:อัพเดท][:WorkingDirectory:ไดเร็คทอรี่ทำงาน]ของเราให้เนื้อหาตรงกับเวอร์ชั่น[:Tip:ปลาย]ของ repository โดยอัตโนมัติ โดยปกติคำสั่ง `hg clone` จะ[:Update:อัพเดท][:ThaiWorkingDirectory:ไดเร็คทอรี่ทำงาน]ของเราให้เนื้อหาตรงกับเวอร์ชั่น[:Tip:ปลาย]ของ repository โดยอัตโนมัติ
Line 63: Line 63:
CategoryThai

บทเรียน - ทำสำเนา repository

(บทนี้เป็นบทที่ 2 จาก 9 บทของ [:ThaiTutorial:บทเรียนการใช้งาน Mercurial] บทก่อนหน้าคือ [:ThaiTutorialInstall:การติดตั้ง Mercurial], บทถัดไปคือ [:ThaiTutorialHistory:ดูประวัติการแก้ไขใน repository])

คุณได้ทำตามขั้นในในบท [:ThaiTutorialInstall:การติดตั้ง Mercurial] เพื่อติดตั้งโปรแกรมแล้วใช่มั๊ย? เยี่ยม!

หัวใจของ Mercurial คือ [:ThaiRepository:repository] ไอ้เจ้า repository นี้เก็บไฟล์ที่เราต้องการแก้ไข รวมทั้งประวัติของไฟล์เหล่านั้นด้วย

วิธีที่ง่ายที่สุดในการเริ่มใช้งาน Mercurial ก็คือลองทำ[:ThaiClone:สำเนา]จาก repository ที่มีอยู่ก่อนแล้วโดยใช้คำสั่ง clone คำสั่งนี้จะสร้างสำเนาของ repository ต้นฉบับเป็น repository ส่วนตัวสำหรับไว้ทำงานบนเครื่องตัวเองได้

เราลองมาทำสำเนาของ repository "hello, world" ที่อยู่ที่ selenic.com กันเถอะ:

$ hg clone http://www.selenic.com/repo/hello my-hello

ถ้าทุกอย่างเป็นไปด้วยดี คำสั่ง clone จะพิมพ์ผลลัพธ์ดังนี้ (ถ้าใช้ Mercurial 1.0):

requesting all changes
adding changesets
adding manifests
adding file changes
added 2 changesets with 2 changes to 2 files
updating working directory
2 files updated, 0 files merged, 0 files removed, 0 files unresolved

เอาล่ะ ทีนี้เราควรจะเห็นไดเร็คทอรี่ชื่อ my-hello ในไดเร็คทอรี่ปัจจุบัน:

$ ls
my-hello

ภายในไดเร็คทอรี่ my-hello เราจะเห็นว่ามีไฟล์อยู่สองไฟล์:

$ ls my-hello
Makefile  hello.c

เนื้อหาของไฟล์ 2 ไฟล์นี้เหมือนกันกับไฟล์ใน repository ต้นฉบับเป๊ะ

หมายเหตุ: ใน Mercurial แต่ละ repository จะอยู่แบบเป็นเอกเทศ เวลาเราทำสำเนา repository สำเนานั้นจะเหมือนกับตัวต้นแบบตอนที่คุณทำสำเนาเป๊ะ แต่ว่าการแก้ไขต่างๆที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นใน repository หนึ่งจะไม่อยู่ในอีก repository จนกว่าคุณจะบอก Mercurial ว่าคุณต้องการ[:ThaiPull:ดึงประวัติการแก้ไข]จากอีก repository หรือให้ repository อื่น[:ThaiPush:ผลักประวัติการแก้ไข]มาที่ repository ของคุณ

โดยปกติคำสั่ง hg clone จะ[:Update:อัพเดท][:ThaiWorkingDirectory:ไดเร็คทอรี่ทำงาน]ของเราให้เนื้อหาตรงกับเวอร์ชั่น[:Tip:ปลาย]ของ repository โดยอัตโนมัติ ถ้าเราต้องการดูว่าตอนนี้ใช้ revision ไหนอยู่ก็สามาถทำได้โดยใช้คำสั่ง [:Parent:parents]:

$ hg parents
changeset:   1:82e55d328c8c
tag:         tip
user:        mpm@selenic.com
date:        Fri Aug 26 01:21:28 2005 -0700
summary:     Create a makefile

เอาล่ะ ตอนนี้เมื่อเรามีสำเนาของ repository ให้เล่นแล้ว เราก็สามารถ [:ThaiTutorialHistory:ดูประวัติการแก้ไขใน repository] ได้แล้ว


CategoryTutorial CategoryThai

ThaiTutorialClone (last edited 2009-05-19 19:30:57 by localhost)