Size: 5603
Comment: Edit contents to make reading easier.
|
Size: 5621
Comment: Link to Thai translation of Repository page.
|
Deletions are marked like this. | Additions are marked like this. |
Line 16: | Line 16: |
1. [:ThaiTutorialClone] - ทำสำเนา [:Repository:repository] ที่มีอยู่ | 1. [:ThaiTutorialClone] - ทำสำเนา [:ThaiRepository:repository] ที่มีอยู่ |
Line 61: | Line 61: |
CategoryThai |
ก่อนอื่นคุณอาจจะอยากลองอ่าน [:ThaiUnderstandingMercurial:ทำความเข้าใจ Mercurial]
เรียนรู้การใช้งาน Mercurial
บทเรียนนี้จะแนะนำการใช้งาน Mercurial เบื้องต้น คุณไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ในการใช้ซอฟต์แวร์ [:SCM] ใดๆมาก่อน
หลังจากที่คุณอ่านบทเรียนนี้จนจบ คุณจะสามารถ:
- เข้าใจหลักการและคำสั่งเบื้องต้นในการใช้ Mercurial
- รู้วิธีการใช้งาน Mercurial เพื่อมีส่วนร่วมในโปรเจคซอฟต์แวร์ใดๆที่ใช้ Mercurial ได้
เราแนะนำให้คุณลองอ่านหน้า man pages ของ Mercurial ที่ [http://www.selenic.com/mercurial/hg.1.html hg(1)] และ [http://www.selenic.com/mercurial/hgrc.5.html hgrc(5)] หรือจะลองดูใน [http://www.selenic.com/mercurial/release/?M=D release tarballs] ในไฟล์ชื่อ doc/hg.1.html และ doc/hgrc.5.html ก็ได้ นอกจากนั้นคุณยังสามารถใช้คำสั่ง hg help <command> ใน command line เพื่อดูวิธีการใช้งานได้เช่นกัน
บทเรียนนี้แบ่งออกเป็นหน้าย่อยดังนี้:
[:ThaiTutorialInstall] - การติดตั้ง Mercurial
[:ThaiTutorialClone] - ทำสำเนา [:ThaiRepository:repository] ที่มีอยู่
[:ThaiTutorialHistory] - ดูประวัติการแก้ไขใน repository
[:ThaiTutorialFirstChange] - ทำการแก้ไขแรกของคุณ
[:ThaiTutorialShareChange] - แบ่งปันสิ่งที่คุณแก้ไขกับ repository อื่น
[:ThaiTutorialExport] - แบ่งปันสิ่งที่คุณแก้ไขกับบุคคลอื่นๆ
[:ThaiTutorialMerge] - รวมประวัติการแก้ไขจาก repository อื่น
[:ThaiTutorialConflict] - [:Merge:รวมประวัติการแก้ไข]ที่ขัดแย้งกัน
[:ThaiTutorialConclusion] - สรุป
วิธีการอ่านบทเรียนนี้
บทเรียนนี้มีการจัดรูปแบบง่ายๆ โดยชื่อคำสั่งและพารามิเตอร์ต่างๆจะถูกแสดงในฟอนต์แบบนี้ fixed font
คำสั่งที่คุณต้องพิมพ์ใน shell หรือคอมมานด์พร๊อมต์จะถูกแสดงด้วยฟอนต์แบบ fixed font และเริ่มบรรทัดด้วยตัวอักษร $
ผลลัพธ์จากคำสั่งจะถูกแสดงด้วยฟอนต์แบบ fixed font แต่จะไม่มีตัวอักษรใดๆนำหน้าบรรทัด
$ นี่คือบรรทัดที่คุณต้องพิมพ์คำสั่ง นี่คือบรรทัดที่แสดงผลลัพธ์
เราใช้ bash shell ในทุกตัวอย่าง คุณสามารถใช้หลักการเดียวกันได้ใน shell อื่นๆของยูนิกซ์และใน cmd.exe ของวินโดวส์ แต่ว่า syntax อาจจะแตกต่างกันไปบ้าง ยกตัวอย่างเช่น คำสั่ง ls ในยูนิกซ์เทียบเท่ากับคำสั่ง dir ในวินโดวส์ และคำสั่ง vi ในยูนิกซ์ก็คล้ายๆกับคำสั่ง edit ในวินโดวส์
โอเค ทีนี้เราก็พร้อมเริ่มบทเรียน [:ThaiTutorialInstall:การติดตั้ง Mercurial] แล้ว
คำแปล
บทเรียนนี้ได้ถูกแปลเป็นภาษาเหล่านี้:BR
[:ChineseTutorial:ภาษาจีน], [:FrenchTutorial:ภาษาฝรั่งเศษ], [:GermanTutorial:ภาษาเยอรมัน], [:ItalianTutorial:ภาษาอิตาลี], [:JapaneseTutorial:ภาษาญี่ปุ่น], [:KoreanTutorial:ภาษาเกาหลี], [:BrazilianPortugueseTutorial:ภาษาโปรตุเกสบราซิล], [:SpanishTutorial:ภาษาสเปน] [:RussianTutorial:ภาษารัสเซีย] [:UkrainianTutorial:ภาษายูเครน]
หมายเหตุ: เนื้อหาในหน้าที่ถูกแปลอาจจะไม่ใหม่เท่ากับเนื้อหาภาษาอังกฤษ